วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเตรียมยาสมุนไพร (ยาต้ม)


ยาต้มเป็นรูปแบบการปรุงยาสมุนไพรที่ใช้มานาน เป็นการใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (solvent) ยาสมุนไพร ข้อดีของยาต้มคือ ดูดซึมง่าย ออกฤทธิ์เร็ว วิธีการเตรียมง่ายและสะดวกมีข้อเสียคือรสชาติ และกลิ่นอาจรับประทานยากสำหรับบางคน และยาต้มเก็บไว้ได้ไม่นาน ขึ้นราง่าย ถ้าต้องการเก็บไว้จะต้องใช้สารกันบูด

วิธีการเตรียมยาต้ม

๑.      น้ำและภาชนะ
        น้ำที่ใช้ต้มยาควรเป็นน้ำสะอาด ใส ไม่มีสี กลิ่น รส ปริมาณของน้ำที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณยาโดยปกติจะใส่น้ำพอท่วมยา ภาชนะที่ใช้ต้มยาควรเป็นหม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่นเหล็กเพราะจะทำให้สารแทนนิน (Tannin) ที่มักพบในยาสมุนไพร ทำปฏิกิริยากับโลหะ ซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ยาได้

๒.      การเตรียมยาสมุนไพร
        ยาสมุนไพรที่ใช้ต้มควรหั่นเป็นชิ้นขาดพอดี ถ้าเป็นแก่นก็หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่า ๆ กัน ถ้าเป็นใบใหญ่ เช่น ชุมเห็ดเทศ ให้หั่นเป็นฝอยแต่ถ้าใบเล็ก เช่น ฟ้าทลายโจร กะเพรา ก็ใช้ทั้งใบ ขนาดไม่ควรเล็กเกินไป เพราะจะทำให้กรองยาต้มยาก และเวลาต้มอาจจะไหม้ได้

๓.      การต้ม
        เติมน้ำสะอาดลงในตัวยา คนให้เข้ากัน แช่ทิ้งไว้สัก ๒๐ ๓๐ นาที ต้องคอยดูแล และคนสม่ำเสมออย่าให้ยาไหม้ (การต้มยาไทยส่วนใหญ่จะต้ม ๓ เอา ๑ คือใส่น้ำ ๓ ส่วน ของปริมาณที่ต้องการใช้ และต้มให้เหลือ ๑ ส่วน) ยาต้มควรรับประทานเวลาท้องว่าง จำนวนครั้งละปริมาณตามที่กำหนดในวิธีใช้ยา

                หมายเหตุ ยาต้มไม่ทิ้งไว้ค้างคืน ต้มรับประทานให้หมดภายในวันเดียว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น